top of page

ข้อกำหนดถังดับเพลิง สำหรับปั๊มน้ำมัน สถานบริการน้ำมัน และรถขนส่ง

อัปเดตเมื่อ 21 พ.ค. 2565


ถังดับเพลิง ปั๊มน้ำมัน

สถานบริการน้ำมันหรือปั๊มน้ำมัน ถือเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัยสูง เนื่องจากน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถติดไฟได้ง่าย จึงมีข้อกำหนดเฉพาะสำหรับสถานที่ที่เป็นหมวดหมู่ดังกล่าว


ข้อกำหนดหรือกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้เกี่ยวกับสถานประกอบธุรกิจน้ำมันเชื่อเพลิง มีอย่างน้อยดังนี้ครับ

- กฎกระทรวง สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2551 (ดาวน์โหลด)

- กฎกระทรวง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2552 (ดาวน์โหลด)

- กฎกระทรวง การขนส่งน้ำมันโดยถังขนส่งน้ำมัน พ.ศ.2558 (ดาวน์โหลด)

- กฎกระทรวง คลังน้ำมัน พ.ศ.2556 (ดาวน์โหลด)


1. สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง

มี 3 ลักษณะ ดังนี้

(1) ลักษณะที่ 1 ได้แก่ สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ( ร้านจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงรายย่อย ) ประกอบด้วย น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก มีปริมาณไม่เกิน 40 ลิตร หรือชนิดไวไฟปานกลาง มีปริมาณไม่เกิน 227 ลิตร หรือชนิดไวไฟน้อย มีปริมาณไม่เกิน 454 ลิตร

(2) ลักษณะที่ 2 ได้แก่ สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ( โรงงานขนาดเล็กหรือเพื่อการเกษตร ) ประกอบด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก มีปริมาณเกิน 40 ลิตร แต่ไม่เกิน 454 ลิตร หรือชนิดไวไฟปานกลาง มีปริมาณเกิน 227 ลิตร แต่ไม่เกิน 1,000 ลิตร หรือชนิดไวไฟน้อย มีปริมาณเกิน 454 ลิตร แต่ไม่เกิน 15,000 ลิตร

(3) ลักษณะที่ 3 ได้แก่ สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ( โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ) ประกอบด้วย น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก มีปริมาณเกิน 454 ลิตรขึ้นไป หรือชนิดไวไฟปานกลาง มีปริมาณเกิน 1,000 ลิตรขึ้นไป หรือชนิดไวไฟน้อย มีปริมาณเกิน 15,000 ลิตรขึ้นไป แต่ปริมาณทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 ลิตร ทั้ง 3 ลักษณะ มีข้อกำหนดแบบเดียวกัน คือต้องมีถังดับเพลิง ขนาดไม่น้อยกว่า 6.8 กก.หรือเทียบเท่าเป็นขนาด 15ปอนด์ โดยมีFire Rating(ความสามารถในการดับไฟ) ขั้นต่ำที่ 3A 40B จำนวนไม่น้อยกว่า 1 เครื่อง

สรุปดังนี้ สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง เลือกใช้เครื่องดับเพลิง ขนาด 15ปอนด์ 10A-40B หรือ ขนาด 20ปอนด์ 10A-40B

จำนวนอย่างน้อย 1 เครื่อง (Fire Rating สามารถสูงกว่ากำหนดได้ แต่น้อยกว่ากำหนดไม่ได้)

2. สถานีบริการน้ำมัน (ปั๊มน้ำมัน) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง แบ่งเป็น 6 ประเภท ดังนี้

(1) ประเภท ก ได้แก่ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้บริการแก่ยานพาหนะทางบก ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ ที่ติดเขตทางหลวงถนนสาธารณะหรือถนนส่วนบุคคล ซึ่งมีขนาดความกว้างตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนดและเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ใน ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ( สถานีบริการติดถนนใหญ่)

(2) ประเภท ข ได้แก่ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงให้บริการแก่ยานพาหนะทางบก ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ติดเขตถนนสาธารณะหรือถนนส่วนบุคคลที่มีความกว้างตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด และเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ( สถานีบริการติดถนนซอย )


(3) ประเภท ค มี 2 ลักษณะดังนี้

(3.1) ลักษณะที่ 1 ได้แก่ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้บริการแก่ยานพาหนะทางบกที่มีการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อยมีปริมาณไม่เกิน 10,000 ลิตร และเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน ( ปั้มถังลอยริมถนนขนาดเล็ก )

(3.2) ลักษณะที่ 2 ได้แก่ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้บริการแก่ยานพาหนะทางบกที่มีการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อย มีปริมาณเกิน 10,000 ลิตรขึ้นไป และเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน ( ปั้มถังลอยริมถนนขนาดใหญ่ )

(4) ประเภท ง ได้แก่ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อยไว้ในถังน้ำมันเชื้อเพลิง ( ปั้มหลอดแก้วมือหมุน )


(5) ประเภท จ มี 2 ลักษณะ ดังนี้

(5.1) ลักษณะที่ 1 ได้แก่ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้บริการแก่เรือที่มีปริมารการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อย มีปริมาณไม่เกิน 10,000 ลิตร และเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน หรือถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดตั้งภายในโป๊ะเหล็ก ( สถานีบริการทางน้ำขนาดเล็ก )

(5.2) ลักษณะที่ 2 ได้แก่ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้บริการแก่เรือที่มีปริมาณการเก็บน้ำมันเชื้อ-เพลิงชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อย มีปริมาณเกิน 10,000 ลิตร ขึ้นไป และเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดินหรือถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดตั้งภายในโป๊ะเหล็ก หรือเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อย ไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ( สถานีบริการทางน้ำขนาดใหญ่ ) ลักษณะข้อกำหนดถังดับเพลิง เหมือนกับสถานที่เก็บรักษา คือขนาดอย่างน้อย 6.8กก. และFire Ratingอย่างน้อย 3A 40B

ปั๊มน้ำมัน สรุปดังนี้ ประเภท ก , ข , ค , จ สถานบริการน้ำมัน ปั๊มน้ำมัน เลือกใช้เครื่องดับเพลิง ขนาด 15ปอนด์ 10A-40B หรือ ขนาด 20ปอนด์ 10A-40B

จำนวนถังดับเพลิง ขึ้นอยู่กับจำนวนตู้จ่ายน้ำมัน

จำนวนตู้จ่าย 1 - 4 ตู้ >> ให้มีถังดับเพลิงอย่างน้อย 2 ถัง จำนวนตู้จ่าย 2 - 8 ตู้ >> ให้มีถังดับเพลิงอย่างน้อย 3 ถัง จำนวนตู้จ่าย มากกว่า 8ตู้ >> ส่วนที่เกิน 8ตู้ ต้องมี 1ถัง/3ตู้จ่าย

ตัวอย่างเช่น มีตู้จ่ายน้ำมันจำนวน 10 ตู้ ต้องจัดให้มีเครื่องดับเพลิง จำนวน 4 ถัง ประเภท ฉ ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยคลังน้ำมัน และมาตรฐานNFPA 407 Standard for Aircraft Duel Servicing หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า 3. การขนส่งน้ำมัน โดยถังขนส่งน้ำมัน (รถขนส่งน้ำมัน)


รถขนส่งน้ำมัน สรุปดังนี้ รถขนส่งน้ำมัน 1 คัน เลือกใช้เครื่องดับเพลิง ขนาดอย่างน้อย 15ปอนด์ 6A-20B จำนวน 2 ถัง หรือ ขนาดอย่างน้อย 15ปอนด์ 10A-40B จำนวน 1 ถัง

**แนะนำใช้เป็นขนาด 20 ปอนด์ 10A-40B คู่ดับกล่องเก็บเครื่องดับเพลิง DAKEN ADAMANT** 4. คลังน้ำมัน หมายถึงพื้นที่ที่เก็บน้ำมันมากกว่า 500,000 ลิตรขึ้นไป ขออนุญาตกล่าวถึงเฉพาะส่วนอุปกรณ์ดับเพลิงที่ต้องมีต้องมี เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง - ขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 6.8กก. หรืออย่างน้อย 15ปอนด์ โดยมีFire Rating ไม่น้อยกว่า 3A-40B - อาคารเก็บน้ำมัน มีเครื่องดับเพลิงอย่างน้อย 2 เครื่องต่อพื้นที่ 200 ตรม. เศษของ200ตรม.ให้คิดเป็น 200ตรม. - อาคาเก็บน้ำมันไวไฟปานกลาง มีเครื่องดับเพลิงอย่างน้อย 4 เครื่องต่อพื้นที่ 200 ตรม. เศษของ200ตรม.ให้คิดเป็น 200ตรม. - อาคารเก็บน้ำมันไวไฟน้อย มีเครื่องดับเพลิงอย่างน้อย 1 ครื่องต่อพื้นที่ 200 ตรม. เศษของ200ตรม.ให้คิดเป็น 200ตรม. - ที่ตั้งเครื่องสูบน้ำมัน ต้องมีเครื่องดับเพลิงอย่างน้อย 1 เครื่อง/เครื่องสูบ 2 เครื่อง หากมีเครื่องสูบมากกว่า 8 เครื่องให้มีถังดับเพลิงอย่างน้อย 4 เครื่อง - แท่นจ่ายหรือจุดรับน้ำมัน ต้องมีเครื่องดับเพลิงอย่างน้อย 1 เครื่อง/จุดรับหรือจ่ายน้ำมัน2ช่อง - การติดตั้งเครื่องดับเพลิง ให้ติดตั้งโดยรอบบริเวณคลังน้ำมันที่ที่สามารถมองเห็นและหยิบใช้งานได้สะดวก สำหรับคลังน้ำมัน ยังต้องจัดให้มีระบบและอุปกรณ์ดับเพลิงอื่นๆอีก เช่น - สารดับเพลิงชนิดโฟมเข้มข้น - ระบบจ่ายน้ำดับเพลิง - ระบบฉีดสารละลายโฟมและระบบน้ำหล่อเย็น - เครื่องสูบน้ำ - ปริมาณแหล่งเก็บน้ำ โดยสามารถหาอ่านได้ตามลิงค์กฎกระทวงด้านล่างนี้ครับ (ดาวน์โหลด)

สรุป

กฎหมายเหล่านี้เป็นการกำหนดขั้นต่ำของข้อกำหนดและจำนวนที่ต้องมีไว้ในสถานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งนี้ ควรเลือกใช้เครื่องดับเพลิงหรืออุปกรณ์ดับเพลิง ที่มีมาตรฐานครอบคลุมหรือสูงกว่าเสมอ สำหรับกิจการเกี่ยวกับน้ำมันเชื่้อเพลิง ควรใช้เครื่องดับเพลิงที่มีขนาดและFire Rating สูงที่สุด เช่น เครื่องดับเพลิง ขนาด20ปอนด์ 10A-40B ครับ

Commenti


bottom of page