top of page

กฎหมาย ถังดับเพลิง (โรงละคร, โรงภาพยนต์, สถานบริการ)

อัปเดตเมื่อ 9 ต.ค. 2566


โรงภาพยนต์ กฎหมาย ถังดับเพลิง ระบบดับเพลิง

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบป้องกันอัคคีภัย นอกเหนือจากอาคารทั่วไปแล้ว อาคารประเภท โรงมหรสพ(โรงละคร โรงภาพยนต์) สถานบริการ จะมีข้อกำหนดที่เป็นกฎกระทรวงแยกออกมา ลองมาดูกันว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบป้องกันอัคคีภัย จะแตกต่างจากอาคารทั่วไปมากน้อยแค่ไหนกันครับ


ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่ >>




กฎกระทรวง ว่าด้วยการอนุญาตให้ใช้เพื่อประกอบกิจการ โรงมหรสพฯ (พ.ศ.2550)

โรงมหรสพ ตามข้อกำหนด แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ก, ข, ค, ง, จ

(1) โรงมหรสพประเภท ก หมายความถึง โรงมหรสพที่เปนอาคารเดี่ยว ซึ่งมีการจัดที่นั่งคนดู ในลักษณะยึดติดกับพื้น

(2) โรงมหรสพประเภท ข หมายความถึง โรงมหรสพที่เป็นอาคารเดี่ยว ซึ่งไมมีการจัดที่นั่งคนดูในลักษณะยึดติดกับพื้น

(3) โรงมหรสพประเภท ค หมายความถึง โรงมหรสพที่ตั้งอยูในอาคารที่ประกอบกิจการ หลายประเภทรวมกัน ซึ่งมีการจัดที่นั่งคนดูในลักษณะยึดติดกับพื้น

(4) โรงมหรสพประเภท ง หมายความถึง โรงมหรสพที่ตั้งอยูในอาคารที่ประกอบกิจการ หลายประเภทรวมกัน ซึ่งไมมีการจัดที่นั่งคนดูในลักษณะยึดติดกับพื้น

(5) โรงมหรสพประเภท จ หมายความถึง โรงมหรสพที่ตั้งอยูกลางแจ้งซึ่งมีรั้วที่ถาวรหรือ มีลักษณะมั่นคงแข็งแรงกั้นขอบเขตโรงมหรสพและมีพื้นที่ภายในขอบเขตโรงมหรสพตั้งแต 150 ตารางเมตรขึ้นไป


ข้อ 19 โรงมหรสพ เว้นแตโรงมหรสพ"ประเภท จ"ต้องมีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม ซึ่งอยางน้อยต้องประกอบด้วย

(1) อุปกรณสงสัญญาณเพื่อใหหนีไฟที่สามารถสงเสียงสัญญาณให คนที่อยูในอาคารไดยิน หรือทราบอยางทั่วถึง

(2) อุปกรณแจ้งเหตุที่มีทั้งระบบแจ้งเหตุอัตโนมัติและระบบแจ้งเหตุที่ใชมือเพื่อใหอุปกรณ ตาม (1) ทํางาน ในกรณีที่เปนโรงมหรสพ"ประเภท ค" หรือโรงมหรสพ"ประเภท ง" ซึ่งตั้งอยูในอาคารขนาดใหญ อาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญพิเศษ ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหมของโรงมหรสพจะต้องตอเชื่อม เข้ากับระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม ของอาคารดังกลาวด้วย


ข้อ 20 โรงมหรสพ เว้นแตโรงมหรสพประเภท จ ต้องมีระบบป้องกันเพลิงไหม ซึ่งประกอบด้วยทอจายน้ําดับเพลิง ที่เก็บ น้ําสํารอง และหัวรับน้ําดับเพลิง ดังตอไปนี้

(1) ทอจายน้ําดับเพลิงต้องเปนโลหะผิวเรียบที่สามารถทนความดันใชงานไดไมน้อยกวา 1.20 เมกะปาสกาล โดยทอดังกลาวต้องทาสีน้ํามันสีแดง และจะต้องตอเข้ากับทอประธานสงน้ํา และ ระบบสงน้ําจากแหลงจายน้ําของอาคารที่ตั้งโรงมหรสพ และจากหัวรับน้ําดับเพลิงนอกอาคาร

(2) ต้องจัดให มีตู หัวฉีดน้ําดับเพลิงที่ประกอบด้วยหัวตอสายฉีดน้ําดับเพลิงพร้อมสายฉีดน้ําดับเพลิง ขนาดเส้นผาศูนยกลางไมน้อยกวา 25 มิลลิเมตร หรือ 1 นิ้ว และหัวตอสายฉีดน้ําดับเพลิง ชนิดหัวตอสวมเร็ว ที่ตอเชื่อมกับระบบของเจ้าพนักงานดับเพลิงได โดยมีขนาดเส้นผาศูนยกลาง 65 มิลลิเมตร หรือ 2.5 นิ้ว พร้อมทั้งฝาครอบและโซร้อยติดไว ซึ่งสามารถนําไปใช ดับเพลิง ครอบคลุมทุกพื้นที่

(3) ต้องมีที่เก็บน้ําสํารองเพื่อใชเฉพาะในการดับเพลิง และต้องมีระบบสงน้ําที่มีความดัน ซึ่งสามารถดับเพลิงไดทุกพื้นที่

(4) ต้องมีหัวรับน้ําดับเพลิงที่ติดตั้งภายนอกอาคารชนิดข้อตอสวมเร็วที่สามารถรับน้ําจาก รถดับเพลิงได ซึ่งอยูในสถานที่ที่พนักงานดับเพลิงเข้าถึงไดโดยสะดวกรวดเร็วที่สุดและให อยูใกล หัวทอดับเพลิงสาธารณะมากที่สุด โดยที่หัวรับน้ําดับเพลิงต้องมีฝาปดเปดที่มีโซร้อยติดไวด้วย และ บริเวณใกล้หัวรับน้ําดับเพลิงนอกอาคารต้องมีข้อความเขียนด้วยสีสะทอนแสงวา “หัวรับน้ําดับเพลิง”

(5) ปริมาณการสงจายน้ําสํารองต้องมีปริมาณการจายไมน้อยกวา 30 ลิตรตอวินาที สําหรับทอยืนทอแรก และไมน้อยกวา 15 ลิตรตอวินาที สําหรับทอยืนแตละทอที่เพิ่มขึ้นในอาคาร หลังเดียวกัน แตรวมแล้วไมจําเปนต้องมากกวา 95 ลิตรตอวินาที และสามารถจายน้ําสํารองได เปนเวลาไมน้อยกวา 30 นาที

ในกรณีที่เปนโรงมหรสพ"ประเภท ค" หรือโรงมหรสพ"ประเภท ง" ซึ่งตั้งอยูในอาคารขนาดใหญ อาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญพิเศษ ต้องจัดให มีระบบทอจายน้ําดับเพลิงที่ตอมาจากทอยืนของอาคาร เพียงพอสําหรับใชดับเพลิงบริเวณพื้นที่โรงมหรสพทั้งหมด ในลักษณะตู หัวฉีดน้ําดับเพลิง ที่ประกอบด้วย หัวตอสายฉีดน้ําดับเพลิงพร้อมสายฉีดน้ําดับเพลิง ขนาดเส้นผาศูนยกลาง ไมน้อยกวา 25 มิลลิเมตร หรือ 1 นิ้ว และหัวตอสายฉีดน้ําดับเพลิงชนิดหัวตอสวมเร็ว ขนาดเส้นผาศูนยกลาง 65 มิลลิเมตร หรือ 2.5 นิ้ว พร้อมทั้งฝาครอบและโซร้อยติดไว โดยจะต้องติดตั้งในจุดที่เข้าถึงได สะดวกและปลอดภัย


ข้อ 21 โรงมหรสพนอกจากจะต้องมีระบบป้องกันเพลิงไหม ตามข้อ 20 แล้ว ต้องติดตั้ง เครื่องดับเพลิงแบบมือถือหรือเครื่องดับเพลิงยกหิ้วตามมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม ที่มีความสามารถในการป้องกันอัคคีภัยไดไมน้อยกวาความสามารถเทียบเทา 4 A และ 1๐ B และ มีขนาดบรรจุไมน้อยกวา 15 ปอนด หรือ 6.80 กิโลกรัม ดังตอไปนี้

(1) บริเวณที่นั่งคนดูชั้นลาง

(ก) ติดตั้งไว ที่ผนังโรงมหรสพ หลังที่นั่งคนดูแถวหลังสุด อยางน้อยข้างละ 1 เครื่อง

(ข) ติดตั้งไว ที่ผนังโรงมหรสพประมาณกึ่งกลางที่นั่งคนดูภายในโรงมหรสพอยางน้อย ข้างละ 1 เครื่อง

(ค) ติดตั้งไว ที่ผนังโรงมหรสพ หน้าที่นั่งคนดูแถวหน้าสุด อยางน้อยข้างละ 1 เครื่อง (ง) ติดตั้งไว ที่ผนังโรงมหรสพ ด้านหลังจอหรือบนเวที อยางน้อยข้างละ 1 เครื่อง

(2) บริเวณที่นั่งคนดูชั้นบนติดตั้งไว ที่ผนังโรงมหรสพ หน้าที่นั่งคนดูแถวหน้าสุดอยางน้อย ข้างละ 1 เครื่อง และหลังที่นั่งคนดูแถวหลังสุด อยางน้อยข้างละ 1 เครื่อง

(3) บริเวณห้องฉาย ติดตั้งไว อยางน้อย 2 เครื่อง สําหรับโรงมหรสพประเภท จ ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือหรือเครื่องดับเพลิงยกหิ้ว ที่มีมาตรฐานและมีคุณสมบัติในการป้องกันอัคคีภัยเชนเดียวกันกับเครื่องดับเพลิงตามวรรคหนึ่ง ไมน้อยกวา 2 เครื่อง ตอพื้นที่ไมเกิน 1,000 ตารางเมตร และเพิ่มขึ้นอีก 1 เครื่อง ตอพื้นที่ 250 ตารางเมตรที่เพิ่มขึ้น การติดตั้งเครื่องดับเพลิงต้องติดตั้งใหสวนบนสุดของตัวเครื่องสูงจากระดับพื้นอาคารไมเกิน 1.50 เมตร ในที่ที่สามารถมองเห็นได ชัดเจน สามารถอานคําแนะนําการใชไดและสามารถเขาใชสอยไดโดยสะดวก


ข้อ 22 โรงมหรสพประเภท ก และประเภท ข ที่เปนอาคารขนาดใหญจะต้องจัดให มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เชน ระบบหัวกระจายน้ําดับเพลิง หรือระบบอื่นที่เทียบเทาที่สามารถทํางานไดด้วยตัวเองทันทีเมื่อเกิดเพลิงไหม โดยใหสามารถทํางานครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด

โรงมหรสพประเภท ค หรือโรงมหรสพประเภท ง ซึ่งตั้งอยูในอาคารขนาดใหญ อาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญพิเศษ จะต้องจัดใหมีระบบดับเพลิงอัตโนมัติตามวรรคหนึ่ง


ข้อ 23 อาคารใดที่มีโรงมหรสพตั้งอยูตั้งแตชั้นที่สองขึ้นไป ต้องจัดใหมีบันไดหนีไฟ ใหเปนไปตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามกฎหมายวาด้วยการควบคุมอาคารเกี่ยวกับอาคารสูง


ข้อ 24 ทางหนีไฟจะต้องมีสวนปดล้อมที่ไมมีชองใหไฟหรือควันจากภายนอกผานเข้ามาได และสวนปดล้อมนี้ต้องมีอัตราการทนไฟไดไมน้อยกวาสองชั่วโมง และมีประตูหนีไฟซึ่งมีขนาด ความกว้าง ระบบระบายอากาศ ระบบอัดลมภายใน แสงสวางจากไฟฟ้าฉุกเฉินและป้ายบอกทางหนีไฟ เชนเดียวกับบันไดหนีไฟตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามกฎหมายวาด้วยการควบคุมอาคารเกี่ยวกับอาคารสูง


ข้อ 26 แนวทางเดินภายในโรงมหรสพต้องมีป้ายบอกทางหนีไฟที่เห็นไดชัดเจนตลอดเวลา ไปสูบันไดหนีไฟหรือทางหนีไฟไดโดยสะดวก



สรุป ข้อกำหนดของโรงมหรสพ


โรงมหรสพทุกประเภทที่อยู่ในอาคาร ยกเว้นประเภท จ (กลางแจ้ง)


- ต้องติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Fire Alarm และถ้าโรงมหรสพอยู่กับในอาคารอื่นเช่น ในห้างสรรพสินค้า ต้องต่อระบบ Fire Alarm เข้ากับระบบของห้างด้วย

- ต้องติดตั้งระบบท่อน้ำดับเพลิง ที่มีหัวจ่ายน้ำ และ หัวรับน้ำ

- ติดตั้งตู้ดับเพลิง FHC (ท่อยืนประเภท 3) หรือก็คือ ตู้ Hose Reel หรือ ตู้ Hose Rack ตามมาตรฐาน

- ติดตั้งปั๊มน้ำดับเพลิง และพื้นที่สำรองน้ำดับเพลิง เพื่อให้มีแรงดันน้ำพร้อมใช้งานทุกพื้นที่

- ติดตั้งถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ขนาดไม่น้อยกว่า 15 ปอนด์ และเรทติ้งไม่น้อยกว่า 4A-10B ติดตั้งรอบที่นั่ง ทั้งหน้า กลาง หลัง อย่างน้อยข้างละ 3 ถัง (ซ้าย-ขวา รวมเป็น 6 ถัง) และติดตั้งหลังเวทีหรือที่จอฉายอย่างน้อยอีกข้างละ 1 ถัง (ซ้าย-ขวา รวมเป็น 2 ถัง)

- ติดตั้งถังดับเพลิง ที่ห้องฉายด้วยอย่างน้อย 2 ถัง



โรงมหรสพประเภท จ (กลางแจ้ง)


- ติดตั้งถังดับเพลิง อย่างน้อย 2 ถัง ตอพื้นที่ไมเกิน 1,000 ตารางเมตร และเพิ่มขึ้นอีก 1 ถัง ทุกๆพื้นที่ 250 ตารางเมตรที่เพิ่มขึ้น



-------------------------------------------------------------------------------


กฎกระทรวง กําหนดประเภทและระบบความปลอดภัย ของอาคารที่ใช้เพื่อประกอบกิจการเป็นสถานบริการ พ.ศ. 2555

ประเภทของสถานบริการ แบ่งออกเป็น 6 ประเภท

(1) สถานบริการประเภท ก หมายความถึง สถานบริการที่เป็นอาคารเดี่ยวหรือที่ตั้งอยู่ใน อาคารที่ประกอบกิจการหลายประเภทรวมกัน ซึ่งมีการจัดพื้นที่บริการน้อยกว่า 200 ตารางเมตร

(2) สถานบริการประเภท ข หมายความถึง สถานบริการที่เป็นอาคารเดี่ยว ซึ่งมีการ จัดพื้นที่บริการตั้งแต่ 200 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 500 ตารางเมตร

(3) สถานบริการประเภท ค หมายความถึง สถานบริการที่เป็นอาคารเดี่ยว ซึ่งมีการ จัดพื้นที่บริการตั้งแต่ 500 ตารางเมตรขึ้นไป

(4) สถานบริการประเภท ง หมายความถึง สถานบริการที่ตั้งอยู่ในอาคารที่ประกอบกิจการ หลายประเภทรวมกัน ซึ่งมีการจัดพื้นที่บริการตั้งแต่ 200 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 500 ตารางเมตร

(5) สถานบริการประเภท จ หมายความถึง สถานบริการที่ตั้งอยู่ในอาคารที่ประกอบกิจการ หลายประเภทรวมกัน ซึ่งมีการจัดพื้นที่บริการตั้งแต่ 500 ตารางเมตรขึ้นไป

(6) สถานบริการประเภท ฉ หมายความถึง สถานบริการที่เป็นอาคารชั้นเดียวและไม่มีผนัง ภายนอกหรือมีผนังภายนอกซึ่งมีความยาวรวมกันน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความยาวเส้นรอบรูปภายนอก ของพื้นที่อาคารที่อยู่ภายใต้หลังคาคลุม ซึ่งมีการจัดพื้นที่บริการตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป


ข้อ 23 สถานบริการประเภท ค ซึ่งมีความสูงตั้งแต่สามชั้นหรือตั้งแต่ 15.00 เมตรขึ้นไป และสถานบริการประเภท จ ที่ตั้งอยู่ในอาคารซึ่งมีความสูงตั้งแต่ชั้นที่สามหรือตั้งแต่ 15.00 เมตรขึ้นไป ต้องมีระบบป้องกันเพลิงไหม้ซึ่งประกอบด้วยระบบท่อยืน ตู้หัวฉีดน้ําดับเพลิง ที่เก็บน้ําสํารอง และหัวรับน้ําดับเพลิง ดังต่อไปนี้

(1) ท่อส่งน้ําและอุปกรณ์ประกอบท่อส่งน้ําที่ใช้สําหรับการดับเพลิงต้องเป็นโลหะผิวเรียบ หรือวัสดุอื่นที่ระบุว่าเป็นท่อที่ผลิตเพื่อใช้สําหรับการดับเพลิงเท่านั้น โดยท่อดังกล่าวต้องทาสีน้ํามันสีแดง หรือสัญลักษณ์แสดงว่าเป็นท่อดับเพลิงและจะต้องต่อเข้ากับท่อประธานส่งน้ําและระบบส่งน้ําจาก แหล่งจ่ายน้ําของอาคารที่ตั้งสถานบริการและจากหัวรับน้ําดับเพลิงนอกอาคาร

(2) อาคารทุกชั้นที่ประกอบกิจการเป็นสถานบริการต้องจัดให้มีตู้หัวฉีดน้ําดับเพลิง ที่ประกอบด้วยหัวต่อสายฉีดน้ําดับเพลิงพร้อมสายฉีดน้ําดับเพลิงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 25 มิลลิเมตร หรือ 1 นิ้ว และหัวต่อสายฉีดน้ําดับเพลิงชนิดหัวต่อสวมเร็ว ที่เชื่อมต่อกับระบบ ของพนักงานดับเพลิงได้ โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๕ มิลลิเมตร หรือ 2.5 น้ิว พร้อมทั้ง ฝาครอบและโซ่ร้อยติดไว้ซึ่งสามารถนําไปใช้ดับเพลิงครอบคลุมทุกพื้นที่สถานบริการ

(3) ต้องมีที่เก็บน้ําสํารองเพื่อใช้เฉพาะในการดับเพลิงและต้องมีระบบส่งน้ําที่มีความดัน ซึ่งสามารถดับเพลิงได้ทุกพื้นที่สถานบริการ

(4) ต้องมีหัวรับน้ําดับเพลิงที่ติดตั้งภายนอกอาคารชนิดข้อต่อสวมเร็วที่สามารถรับน้ําจาก รถดับเพลิงได้ ซึ่งอยู่ในสถานที่ที่พนักงานดับเพลิงเข้าถึงได้โดยสะดวกรวดเร็วที่สุดและใกล้หัวท่อดับเพลิง สาธารณะมากที่สุด โดยที่หัวรับน้ําดับเพลิงต้องมีฝาปิดเปิดที่มีโซ่ร้อยติดไว้ด้วย และบริเวณใกล้หัวรับน้ํา ดับเพลิงนอกอาคารต้องมีข้อความเขียนด้วยสีสะท้อนแสงว่า “หัวรับน้ําดับเพลิง”

ในการออกแบบและติดตั้งระบบป้องกันเพลิงไหม้ในวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามมาตรฐาน ว่าด้วยระบบป้องกันเพลิงไหม้ของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานอื่นที่คณะกรรมการควบคุม อาคารให้การรับรอง


ข้อ 24 สถานบริการประเภท ค และประเภท จ ต้องจัดให้มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เช่น ระบบหัวกระจายน้ําดับเพลิงหรือระบบอื่นที่เทียบเท่าที่สามารถทํางานได้ด้วยตัวเองทันทีเมื่อเกิด เพลิงไหม้ โดยให้สามารถทํางานครอบคลุมพื้นที่สถานบริการทั้งหมด ในการออกแบบและติดตั้งระบบ ดับเพลิงดังกล่าวให้เป็นไปตามมาตรฐานว่าด้วยระบบดับเพลิงอัตโนมัติของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานอื่นที่คณะกรรมการควบคุมอาคารให้การรับรอง สถานบริการประเภท ง ที่ตั้งอยู่ในอาคารขนาดใหญ่จะต้องจัดให้มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ ตามวรรคหนึ่ง


ข้อ 25 สถานบริการต้องมีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ซึ่งประกอบด้วย

(1) อุปกรณ์ส่งสัญญาณเพื่อให้หนีไฟที่สามารถส่งสัญญาณเสียงและแสงให้คนที่อยู่ในอาคาร ได้ยินหรือทราบอย่างทั่วถึง

(2) อุปกรณ์ตรวจจับอัตโนมัติและอุปกรณ์แจ้งเหตุที่มีทั้งระบบแจ้งเหตุอัตโนมัติและระบบ แจ้งเหตุที่ใช้มือเพื่อให้อุปกรณ์ตาม (1) ทํางาน เว้นแต่สถานบริการประเภท ก และประเภท ฉ ที่อย่างน้อยต้องติดตั้งอุปกรณ์แจ้งเหตุที่ใช้มือ ในการออกแบบและติดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัยในวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามมาตรฐานว่าด้วย ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานอื่นที่คณะกรรมการควบคุมอาคาร ให้การรับรอง ในกรณีที่เป็นสถานบริการประเภท ง หรือประเภท จ ซึ่งตั้งอยู่ในอาคารขนาดใหญ่อาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ของสถานบริการจะต้องต่อเชื่อมเข้ากับระบบ สัญญาณเตือนเพลิงไหม้ของอาคารดังกล่าวด้วย


ข้อ 26 สถานบริการต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือหรือเครื่องดับเพลิงยกหิ้ว ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยให้มี 1 เครื่องต่อพื้นที่สถานบริการไม่เกิน 200 ตารางเมตร แต่ไม่น้อยกว่าชั้นละ 2 เครื่อง โดยการติดตั้งให้กระจายครอบคลุมทั้งพื้นที่สถานบริการ สําหรับ ประเภท ขนาด และสมรรถนะของเครื่องดับเพลิงดังกล่าวให้เป็นไปตามมาตรฐานว่าด้วยเครื่องดับเพลิง แบบมือถือหรือเครื่องดับเพลิงยกหิ้วของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานอื่นที่คณะกรรมการ ควบคุมอาคารให้การรับรอง การติดตั้งเครื่องดับเพลิงต้องติดตั้งให้ส่วนบนสุดของตัวเครื่องสูงจากระดับพื้นอาคารไม่เกิน 1.5 เมตร โดยส่วนล่างสุดของทุกเครื่องต้องสูงไม่น้อยกว่า 0.1 เมตร ในที่ที่สามารถมองเห็นได้ ชัดเจนหรือใช้ป้ายเครื่องหมายแสดงที่ตั้งของเครื่องดับเพลิงที่มองเห็นได้ชัดเจน รวมถึงสามารถ อ่านคําแนะนําการใช้ได้ และสามารถเข้าใช้สอยได้โดยสะดวก



สรุป ข้อกำหนดสถานบริการ


สถานบริการ ทุกประเภท ทุกขนาด

- ติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Fire Alarm

- ติดตั้ง ถังดับเพลิง 1 ถังต่อพื้นที่ 200 ตรม. แต่อย่างน้อยชั้นละ 2 ถัง

- ติดตั้งถังดับเพลิงยึดกับผนัง ห้ามวางกับพื้น ตำแหน่งติดตั้งสูงสุดไม่เกิน 1.5 เมตร



สถานบริการ ขนาด ตั้งแต่ 500 ตรม.ขึ้นไป (และความสูงเกิน 15 เมตรด้วย)

- ต้องติดตั้งระบบท่อน้ำดับเพลิง ที่มีหัวจ่ายน้ำ และ หัวรับน้ำ

- ติดตั้งตู้ดับเพลิง FHC (ท่อยืนประเภท 3) หรือก็คือ ตู้ Hose Reel หรือ ตู้ Hose Rack ตามมาตรฐาน

- ติดตั้งระบบหัวสปริงเกอร์น้ำดับเพลิง หรือระบบอื่นที่เทียบเท่า

- ติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Fire Alarm แบบอัตโนมัติ และเชื่อมกับระบบอาคารถ้าเป็นอาคารรวม




-------------------------------------------------------------------------------



บทความจัดทำและเผยแพร่โดย

บจ. สยามเบสท์ สตีล เวิร์คส์


สงวนลิขสิทธิ์ทั้งบทความและรูปภาพประกอบ โดยผู้เขียน

ห้ามนำส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความหรือทั้งหมดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

bottom of page