top of page

ส่วนประกอบถังดับเพลิง

อัปเดตเมื่อ 15 มิ.ย. 2566

ข้างในถังดับเพลิงมีอะไรส่วนประกอบมีอะไรบ้าง?

ส่วนประกอบถังดับเพลิง
ส่วนประกอบถังดับเพลิง

ถังดับเพลิงในปัจจุบันจะมีถังอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน

"Stored Pressure Type" ซึ่งก็คือภายในถังได้บรรจุแรงดันไว้เสร็จสรรพ สามารถฉีดใช้งานได้ทันทีเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน อีกชนิดหนึ่งคือ

"Cartridge Operated Type" ซึ่งจะมีถังก๊าซแยกต่างหากกับตัวถังดับเพลิง ต้องปล่อยแรงดันในถังก๊าซเข้าไปในตัวถังดับเพลิงก่อน จึงจะสามารถฉีดใช้งานได้ (ประเทศไทยไม่มีผลิต)


โดยข้อดีของ Stored Pressure Type คือสามารถใช้งานได้ง่าย, และมีราคาถูกกว่าแบบ Cartridge Operated มาก แต่จำเป็นต้องบำรุงรักษา ตรวจสอบอะไหล่ให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานอยู่เป็นประจำ และควรส่งถังกลับมาทำความสะอาดและบรรจุสารเคมีใหม่ทุกๆ 5ปี

ถังดับเพลิงแบบท่ออัดก๊าซ

รูปตัวอย่างเครื่องดับเพลิงแบบมีท่ออัดก๊าซ (Cartridge Operated Type)

- รูปด้านซ้าย ถังแรงดันแบบซ่อนอยู่ในถังดับเพลิง

- รูปด้านขวา ถังดับเพลิงยี่ห้อ ANSUL จะเป็นถังแรงดันอยู่ภายนอกซ่อนอยู่ในกล่องพลาสติกสีดำ


ส่วนประกอบภายนอกของถังดับเพลิง แบบอัดแรงดัน Stored Pressure Type
ส่วนประกอบถังดับเพลิง

ส่วนประกอบภายนอกของถังดับเพลิง จำเป็นต้องตรวจเช็คให้อยู่ในสภาพดีอยู่เป็นประจำ

1. คันบีบ ต้องไม่ชำรุด ไม่เป็นสนิม ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลเวลายกถังหรือเคลื่อนย้าย

2. หัววาล์ว ตรวจสอบให้อยู่ในสภาพที่ดี แน่น แข็งแรง

3. เกจ์แรงดัน เช็คในแน่ใจว่าแรงดันไม่ตก ในเข็มอยู่ในแถบสีเขียว หากอยู่นอกเหนือแถบสีเขียวควรส่งถังมาตรวจสอบโดยด่วน

4. สายฉีด ต้องไม่ผุกร่อนหรือฉีกขาด โดยเฉพาะปลายสายฉีด ต้องไม่มีเศษสกปรกหรือแมลงมาอุดตัน

5. ตัวถัง ตรวจสอบให้ทั่วให้แน่ใจว่าตัวถังไม่มีแผลถลอกจนเห็นเนื้อเหล็กหรือเป็นสนิม ซึ่งอาจทำให้ตัวถังไม่สามารถรับแรงดันที่บรรจุได้ดีเพียงพอ

(การตรวจเช็คสามารถทำตามป้ายTAG คู่มือตรวจเช็ค ที่มาพร้อมถังดับเพลิงได้)



ส่วนประกอบภายใน ถังดับเพลิง
ส่วนประกอบถังดับเพลิง

ภายในถังดับเพลิงประกอบไปด้วย

1. หัววาล์วและท่อส่ง

ส่วนประกอบนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นจุดที่กักเก็บแรงดัน ถังดับเพลิง SATURN ใช้หัววาล์วทองเหลืองแบบ American Type ซึ่งเป็นหัววาล์วที่ผลิตจากเพลาทองเหลืองเส้นตัน ผ่านการกลึงจากเครื่องCNCจนได้ตามแบบมาตรฐาน เป็นจุดเด่นที่ทำให้หัววาล์วมีความแข็งแรง ทนแรงดันและแรงกระแทกได้ดีกว่าหัววาล์วทั่วไปที่ผลิตจากทองเหลืองหลอมขึ้นรูปซึ่งอาจมีรูพรุนแต่มีราคาถูก

หัววาล์วถังดับเพลิง

(หัววาล์ว SATURN ผลิตจากเพลาทองเหลืองตัน ไม่มีรูพรุนจากการหลอม มีความแข็งแรงสูง)

หัววาล์วถังดับเพลิง

(หัววาล์วแบบทั่วไป วัสดุบางกว่ามาก)


2. ผงเคมีแห้ง

สารเคมีที่บรรจุ มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ Monoammonium Phosphate (NH4H2PO4) ผสมกับสารประกอบอื่นๆเพื่อให้ผงเคมีมีความลื่นไม่เกาะตัว ไม่อุดตันเมื่อฉีดใช้งาน หรือเรียกกันว่า ABC Powder มีประสิทธิภาพในการดับไฟได้ดี สามารถดับได้ทั้ง Class A,B,C ทั้งนี้ความเข้มข้นของสารเคมีขึ้นอยู่กับ Fire Rating ของแต่ละรุ่น

เคมีแห้งดับเพลิง
ผงเคมีแห้งABC

สารเคมีอีกประเภทหนึ่งที่มีใช้กัน จะมีส่วนผสมหลักคือ Sodium Bicarbonate (NaHCO3) หรือเรียกกันว่า BC Powder สามารถดับได้เฉพาะไฟ Class B และ C สารเคมีชนิดนี้มีราคาถูกกว่าแต่ประสิทธิภาพในการดับไฟจะด้อยกว่า ABC Powder ทั้งนี้สารเคมีทั้ง2ชนิด ไม่เป็นอันตรายต่อคนแต่ฝุ่นผงอาจทำให้เกิดการระคายเคืองบ้างเล็กน้อย


วิธีสังเกตุความแตกต่าง สามารถดูได้ตามบทความนี้


3. ก๊าซที่บรรจุ

ก๊าซที่บรรจุอยู่ในถังดับเพลิง จะใช้เป็นก๊าซไนโตรเจน Nitrogen(N2) ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นคือเมื่อโดนความร้อน ก๊าซจะไม่ขยายตัว ทำให้แรงดันไม่เพิ่มขึ้น ต่างกับออกซิเจน หากโดนความร้อนจะมีการขยายตัวทำให้แรงดันอาจพุ่งขึ้นสูงหรือลงต่ำกว่ากำหนด


หลักการทำงานของเครื่องดับเพลิง

เมื่อบีบคันบีบ จะทำให้หัววาล์วเปิดหน้าวาล์วปล่อยแรงดันออกจากถังดับเพลิง โดยที่แรงดันจะทำหน้าที่ผลักให้ผงเคมีแห้งที่อยู่ภายในถังถูกดันให้ผ่านท่อส่ง วาล์ว และออกมายังสายฉีด



___________________

บทความเขียนและเผยแพร่โดย

บจก. สยามเบสท์ สตีล เวิร์คส์


สงวนลิขสิทธิ์ทั้งบทความและรูปภาพประกอบ โดยบจ.สยามเบสท์ สตีล เวิร์คส์

ห้ามนำส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความหรือทั้งหมดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page